วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

 คอมพิวเตอร์ หมายถึง 
• เครื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล
• สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม
• ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ และทำการประมวลผล โดยทำการเปรียบเทียบจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงผลที่อุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพหรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

ประวัติความเป็นมา
    คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปี

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
v  เริ่มจาก พ.ศ. 2488-2501
v ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
v ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
v เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
v  เริ่มจาก พ.ศ. 2502-2506
v ใช้ ”ทรานซอสเตอร์” เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์แทนหลอดสุญญากาศ
v ใช้วงแหวนเป็นหน่วยความจำ
v สามารถทำงานได้ทันทีไม่ต้องรอให้หลอดค่อยๆทำงาน
v ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า แม่นยำกว่า
v สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
v เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
v  เริ่มจาก พ.ศ. 2507-2512
v เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมาย
v ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
v ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
v ในยุคนี้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
v  เริ่มจาก พ.ศ. 2513-2532
v เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI)
v โดยรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงไปในแผ่นซิลิกอน
v  ชิป 1แผ่นสามารถบรรจุได้มากกว่าล้านวงจร  โดยบรรจุการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า “ซีพียู” ลงไปในชิปตัวเดียวหรือที่เรียกว่า “ไมโครโปรเซสเซอร์”

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
v  เริ่มจาก พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน
v ไมโครคอมพิวเตอร์มีความสามารถมากขึ้น ทำงานได้รวดเร็ว การแสดงผล การจัดเก็บข้อมูล สามารถประมวลผลได้ทีละมากๆ ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้หลายงานพร้อมๆกัน(Multitasking)
v เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น
v คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)


ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทคอมพิวเตอร์แบ่งตามระดับความสามารถประกอบด้วย
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
3.มินิคอมพิวเตอร์
4.เวิร์กสเตชั่น
5.ไมโครคอมพิวเตอร์

1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
• มีความสามารถสูงสุด มีขนาดใหญ่ ทำงานรวดเร็วที่สุดในโลก
• สามารถประมวลผลข้อมูลในปริณมาณมาก
• สามารถประมวลผลงานที่มีรูปแบบซับซ้อน มีความเร็วในการคำนวณได้มากกว่า หนึ่งล้านล้านคำสั่งต่อวินาที
• หน่วยวัดความเร็วของซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ เรียกว่า กิกะฟลอป (Gigaflop)
• ใช้ในงานพยากรณ์อากาศ งานทางวิศวกรรม งานด้านวิทยาศาตร์ งานการวิจัยนิวเคลียร์

2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainfram Computer)
• ความสามารถรองจากซูปเปอร์คอมพิวเตอร์
• ใช้งานกับธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น บริษัทประกันภัย ธุรกิจธนาคาร งานด้านสายการบิน ระบบจองตั๋วเครื่องบิน  การจัดเก็บภาษี
ข้อเด่น ของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก
ตัวอย่าง  บริษัท IBM มีแอปพลิเคชั่นทำงานมากกว่า 1000 โปรแกรม เมนเฟรมจะนำไปใช้งานเป็นเครื่องศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น

3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
• เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรขนาดกลาง และขนาดเล็กเหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กไปถึงขนาดกลาง
• ความสามารถอยู่ระหว่างเมนเฟรมคอมพิวเตอร์และไมโครคอมพิวเตอร์
• เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานได้พร้อม ๆ กันหลายคน จึงมีเครื่องปลายทางที่เชื่อมต่อกัน
• นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน

4. เวิร์กสเตชั่น (Workstation)
• เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ความสามารถอยู่ระหว่างความสามารถของมินิคอมพิวเตอร์และไมโครคอมพิวเตอร์
• มีความเร็ว ประสิทธิภาพ และราคาสูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ PC โดยทั่วไป
• มีจุดเด่นสำหรับงานกราฟฟิก สร้างรูปภาพ และภาพเคลื่อนไหว
• สามารถใช้เพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
• สำหรับงานออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ งานควบคุมเครื่องจักร งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ฯ

5. ไมโครคอมพิวเตอร์(Microcomputer)
• เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC)
• พีซีทั่วไปจะมีระบบปฎิบัติการ พร้อมโปรแกรมใช้งานทางด้านเอกสาร ท่องเว็บ อีเมล ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น
• เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้ดังนี้
  - คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC)

  - โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก มี น้ำหนักเบาประมาณ 2-4 กิโลกรัม และบางกว่าแบบตั้งโต๊ะ สามารถพกพาไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้สะดวก

  - เน็ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Netbook)
  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าเครื่องพีซีและโน๊ตบุค โดยออกแบบให้สามารถนำติดตัวไปใช้งานตามที่ต่างๆได้ดี เพราะมีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา

- แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์(Tablet Computer)
• เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานในขณะเคลื่อนที่ได้
• รวมการทำงานทุกอย่างไว้ที่จอสัมผัสโดยใช้ปากกา หรือปลายนิ้ว เป็นอุปกรณ์อินพุตพื้นฐาน เทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์


การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆ
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านสถานีอวกาศ
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านธุรกิจทั่วไป
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านการศึกษาและการวิจัย
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านออกแบบทางวิศวกรรม
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านอุตสาหกรรมและหุ่นยนต์
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านเก็บประวัติอาชญากรรม
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านบันเทิง

แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ


ข้อมูล (Data)
   หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือเสียงก็ได้

สารสนเทศ (Information)
   หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และการคาดการณ์ในอนาคตได้

ระบบสารสนเทศ

   หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม  ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร  ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input)  การประมวลผล (Processing)  และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output)
1. การนำเข้า กิจกรรมการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อการประมวลผล
2. การประมวลผล การนำทรัพยากรที่ได้นำเข้าสู่ระบบมาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่มีความหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ
3. ผลลัพธ์ ผลผลิตจาการประมวลผล โดยทั่วไปอยู่ในรูปของเอกสารหรือรายงานสารสนเทศ
4. ข้อมูลสะท้อนกลับ ผลลัพธ์ได้จากการประมวลผลไปปรับปรุงการนำข้อมูลเข้าและกิจกรรมการประมวลผล

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

 1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ อุปกรณ์ทางกายภาพ ที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า และการจัดเก็บข้อมูล, ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ออกมา
2.ซอฟต์แวร์ (Software) ประกอบด้วยกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
3. ข้อมูล (Data) ในส่วนนี้หมายถึงข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บอยู่ในฐานข้อมูลโดย  ฐานข้อมูล (Database) หมายถึงกลุ่มของค่าความจริงและสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง
4.บุคคล (People) หมายถึงบุคคลที่ใช้งานและปฏิบัติงานร่วมกับระบบสารสนเทศ
5.ขบวนการ (Process) หมายถึงกลุ่มของคำสั่งหรือกฎ ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ
6.การสื่อสารข้อมูล, ระบบเครือข่าย (Network) หมายถึงการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร ข้อมูลผ่านสื่อนำข้อมูล เช่น สายโทรศัพท์ สายเคเบิล และดาวเทียม เป็นต้น


ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจ โลกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
3. สามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
5. เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิธีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น

 กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ




ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้

1.การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์กรจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับ ลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์กรดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์กรแล้วจะทำให้เกิด ปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยัง ไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำเป็นที่ ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ


ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ

1.ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อ เหตุการณ์
  เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บและบริหารอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสมและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ทันต่อความต้องการ
2. ช่วยในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ
  โดยผู้บริหาร สามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศมาช่วยในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายใน การดำเนินงานเนื่องจากสารสนเทศถูกรวบรวมและจัดการอย่างเป็นระบบ ทำให้มีประวัติของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สามารถที่จะบ่งชี้แนวโน้มของการดำเนินงานว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใด
3. ช่วยในการตรวจสอบการดำเนินงาน
  เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ควบคุมจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำข้อมูลบางส่วนมาประมวลผลเพื่อประกอบการประเมิน สารสนเทศที่ได้จะแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร
4. ช่วยในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
   ผู้บริหารสามรถใช้ระบบสารสนเทศประกอบการศึกษาและการค้นหาสาเหตุ หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน ถ้าการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยอาจจะเรียกข้อมูลเพิ่มเติมออกมาจากระบบ เพื่อให้ทราบว่าความผิดพลาดในการปฏิบัติงานเกิดขึ้นจากสาเหตุใด หรือจัดรูปแบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ปัญหาใหม่
5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น
  เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลจะช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ว่าการดำเนินงานใน แต่ละทางเลือกจะช่วยแก้ไขหรือควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ธุรกิจต้องทำอย่างไรเพื่อปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผน งานหรือเป้าหมาย
6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย
  ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจลดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการทำงานลง เนื่องจากระบบสารสนเทศสามารถรับภาระงานที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ตลอดจนช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดจำนวนคนและระยะเวลาในการประสานงานให้น้อยลง โดยผลงานที่ออกมาอาจเท่าหรือดีกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจ